โฉมหน้าของ คนร้ายคนล่าสุดที่ถูกจับกุมตัวได้ เขามีชื่อว่า ฟลูเกนซ์ กายิเชอมา ปัจจุบันมีอายุ 62 ปี อดีตตำรวจชาวรวันดาผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารโหดในช่วง 100 วันที่รวันดาตกอยู่ในความโกลาหล จากเหตุชาวฮูตูลุกขึ้นมาเข่นฆ่าชาวทุตซี
หลังก่อเหตุในปี 1994 กายิเชอมาถูกออกหมายจับในปี 2001 แต่ผ่านเวลามาถึงปี 2023 ชายคนนี้เพิ่งจะถูกเจ้าหน้าที่จับกุมได้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายในไร่องุ่นแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเมืองพาร์ ประเทศแอฟริกาใต้
ระทึก! ผู้โดยสารเอเชียนาแอร์ไลน์ส เปิดประตูฉุกเฉิน ขณะเครื่องร่อนลงจอด
อนุมัติทดสอบในมนุษย์ “ชิปฝังสมองนิวรัลลิงก์” ของ อีลอน มัสก์
การจับกุมมีขึ้นจากความร่วมมือระหว่างตำรวจแอฟริกาใต้และเจ้าหน้าที่สืบสวนของสหประชาชาติ รายงานระบุว่า ในตอนแรกกายิเชอมาที่ใช้ชื่อและตัวตนปลอมระบุว่า เขาไม่ใช่คนที่กำลังตามหา ก่อนจะยอมรับในภายหลัง ทั้งยังกล่าวด้วยว่า รอให้เจ้าหน้าที่มาจับกุมอยู่ตั้งนานหลายปี
รายงานจากศาลระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งศาลประชาชาติ หรือ IRMCT เซิร์ก แบรมเมิร์ทซ์ อัยการผู้ดูแลคดีนี้ ระบุว่า คนร้ายหลบหนีด้วยชื่อและตัวตนปลอมมานานกว่า 20 ปี แต่ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเขาย้ายไปมาระหว่างประเทศต่างๆ ในแอฟริกา แต่ยังไม่เคยเดินทางออกนอกทวีป
ในด้านของคดีความ กายิเชอมาเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาจำนวน 4 คน ที่ศาลยังไม่ได้พิจารณาคดีจากจำนวนผู้ต้องหาทั้งหมด 96 คนที่ถูกเหยื่อและองค์กรระหว่างประเทศยื่นฟ้องในข้อกล่าวหาว่า พวกเขาก่ออาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นอกจากจะมีชื่อต้องการตัวในศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว กายิเชอมายังมีชื่อในหมายแดงของอินเตอร์โพลด้วย และมีค่าหัวมากถึง 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 173 ล้านบาท ใน US War Crimes Reward Program
ผู้ต้องสงสัยทั้งหมด 96 คนของ ICTR ทั้งหมดนี้เป็นผู้อยู่เบื้องหลังระดับหัวหน้า เพราะหากรวมผู้ก่อเหตุจริงทั้งหมดจำนวนจะมีมากกว่าพันคนที่เกี่ยวข้องกับการสังหารโหดชาวทุตซีในช่วง 100 วันของความโหดร้าย กายิเชอมาทำอะไรลงไป? เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจถึงภาพรวมของเหตุการณ์ที่ได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในความเลวร้ายที่สุดที่มนุษย์ทำกับมนุษย์ด้วยกัน
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาเกิดขึ้นในปี 1994 ก็จริง แต่ต้นตอย้อนไปได้ตั้งแต่สมัยที่เบลเยียมผู้เป็นเจ้าอาณานิคมยังคงปกครองรวันดา
ในเวลานั้นเจ้าอาณานิคมใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง ยกเอาชาวทุตซีซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยขึ้นมาเป็นผู้นำประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นชาวฮูตู
สัดส่วนต่างกันมากแค่ไหนชาวฮูตูมีมากถึงร้อยละ 85 ของประชากรประเทศ การถูกกดเป็ลพลเมืองชั้นสองนานหลายปีบ่มเพาะความเกลียดชังต่อชาวทุตซีจากรุ่นสู่รุ่น
ปี 1959 ชาวฮูตูรวมตัวล้มล้างระบอบการปกครองของชาวทุตซี ส่งผลให้ชาวทุตซีจำนวนหลายหมื่นคนอพยพหนีตายไปยังยูกันดาและบุรุนดีประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ลี้ภัยเองก็คับแค้นที่ถูกขับไล่ ชาวทุตซีจึงจัดตั้งกลุ่มแนวร่วมผู้รักชาติรวันดา หรือกองกำลัง RPF เข้าสู้รบกับกองกำลังฮุตูและก่อความไม่สงบในรวันดา
ความขัดแย้งดำเนินอยู่นานหลายปี จนกระทั่งทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงสันติภาพร่วมกันได้ในปี 1993 ภายใต้ข้อตกลงสันติภาพ ความขัดแย้งและความเกลียดชังถูกกดเอาไว้ เพื่อให้ประเทศเดินหน้า ทว่าวันที่ 6 เมษายนปี 1994 จู่ๆ เครื่องบินโดยสารที่มี ประธานาธิบดีจูเวนัล ฮับยาริมานา ผู้นำรวันดาในตอนนั้นที่เป็นชาวฮูตูถูกยิงตกโดยไม่ทราบว่าใครอยู่เบื้องหลังคำพูดจาก สล็อต777
การเสียชีวิตกระทันหันของผู้นำประเทศตามมาด้วยการประโคมข่าวว่า กลุ่ม RPF เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และในวันที่ 7 เมษายน อาชญากรรมอันเลวร้ายก็เริ่มขึ้น ชาวฮูตูที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเริ่มออกล่าชาวทุตซี ฆ่าฟันด้วยอาวุธที่หาได้อย่างไร้ความปราณี พวกเขาฆ่าไม่เว้นแม้แต่เด็กๆ ส่วนผู้หญิงชาวทุตซีจำนวนมากก็ถูกจับตัวไปเป็นทาสกาม
เพื่อนบ้านลุกขึ้นมาฆ่าเพื่อนบ้านด้วยกันเอง นอกจากฆ่าคนที่รู้จักชาวฮูตูยังรวมกลุ่มกันเป็นขวนการออกล่าหัวชาวทุตซี ฆ่าฟันคนที่พวกเขาไม่รู้จัก ขณะที่ชาวทุตซีที่มีตำแหน่งทางการเมืองถูกจับกุมและสังหารอย่างเป็นระบบ ความวุ่นวายเกิดขึ้นนาน 100 วัน จำนวนผู้เสียชีวิตสูงถึง 800,00 ราย
เหตุการณ์คลี่คลายเมื่อกองกำลัง RPF ที่มีฐานในประเทสเพื่อนบ้านเป็นฝ่ายชนะ รุกคืบถึงเมืองหลวง ส่วนบรรดาชาวฮูตูผู้ก่อเหตุที่คาดกันว่ามีมากถึง 2 ล้านคนลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพราะกลัวที่จะถูกล้างแค้น
ในกรณีของกายิเชอมา ช่วงเวลาที่รวันดาตกอยู่ในความวุ่นวายเขาเป็นตำรวจที่ต้องทำหน้าที่ตรวจสอบเหตุความไม่สงบในชุมชนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
เขาถูกกล่าวหาว่า กวาดต้อนชาวทุตซี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กให้เข้าไปหลบภัยในโบสถ์แห่งหนึ่งที่เจ้าตัวอ้างว่าเป็นสถานที่ปลอดภัย ก่อนจะจุดไฟเผาสังหารทุกคนในนั้น และนำรถขุดดินมาฝังกลบร่างทำลายหลักฐาน รวมผู้เสียชีวิตจากน้ำมือของกายิเชอมามากถึง 2,000 ราย
บาทหลวงคนหนึ่งที่มีชื่อว่า อธาเนส เซรอมบา มีส่วนในการสังหาร เขาถูกจับกุมในอิตาลีปี 2002 และถูกศาลพิเศษที่ตั้งขึ้นเพื่อตัดสินคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาตัดสินโทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งคนๆ นี้มีส่วนช่วยในการระบุตัวและขยายผลไปสู่การจับกุม กายิเชอมา
โศกนาฏกรรมครั้งนั้นยังคงสร้างบาดแผลให้กับประเทศมาจนถึงวันนี้ นี่คืออนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อไว้อาลัยให้กับเหยื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกรุงคิกาลี รายชื่อผู้เสียชีวิตจำนวนมากมายถูกสลักไว้ที่ข้างกำแพง
นัฟทาลี อฮิสฮาคีเย เลขาธิการของมูลนิธิ อีบูกา ที่ตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาระบุว่า ตัวเขารู้สึกโล่งใจที่คนร้ายถูกจับกุมตัว เพราะนี่คือความคืบหน้าสไคัญที่จะช่วยคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อ อย่างไรก็ตามเขากังวลว่า ยังมีคนร้ายอีกมากที่ลอยนวล และคนเหล่านี้อาจเสียชีวิตก่อนที่จะได้รับโทษทัณฑ์
การจับกุมก่อนหน้าเกิดขึ้นในปี 2020 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คนร้ายมีชื่อว่า เฟลิซี คาบูกา อายุ 87 ปีในปีที่ถูกจับกุม
คนๆ นี้เป็นนักธุรกิจที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับนักการเมืองชาวฮูตู เขาถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการกระพือข่าวให้ผู้คนลุกขึ้นมาฆ่ากันด้วยการสนับสนุนเงินให้กับสื่อวิทยุในการกระจายข่าวปลอม ผู้ต้องสงสัยรายนี้ถือว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาที่มีอายุมากที่สุด
ปัจจุบันในจำนวนผู้ต้องหาที่ทาง IRMCT สั่งฟ้องทั้งหมด 96 คน มีจำนวน 61 คนที่ผ่านกระบวนการพิจารณาคดีแล้ว ในจำนวนนี้มี 28 คนถูกตัดสินโทษไปแล้ว และล่าสุดเมื่อช่วงกลางวันที่ผ่านมาปรากฏภาพของกายิเชอมาขณะรับฟังข้อกล่าวหาในศาลของกรุงเคปทาวน์ เมืองหลวงแอฟริกาใต้แล้ว ท่ามกลางความสนใจจากสื่อมวลชนจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่าทางแอฟริกาใต้จะส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้กับรวันดาหรือไม่ ซึ่งข้อนี้ไม่จำเป็นเพราะศาลของประเทศที่เข้าร่วมการให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศถือเป็นการรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว ที่ผ่านมาการตัดสินคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาจึงถูกพิจารณาคดีในหลายประเทศ เช่น เบลเยียม สวีเดน ฟินแลนด์ ไปจนถึงฝั่งทวีปอเมริกา อย่าง สหรัฐฯ และแคนาดา