ไม่พลิก !!! เป็นไปตามเอกสารหลุด เศรษฐกิจไทย ปี 2566 เติบโต 1.8 %
เศรษฐกิจไทยโตช้า ท่องเที่ยวพยุง แต่ส่งออกไร้เสน่ห์ แนะปรับโครงสร้างระยะยาว
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ ขานรับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาดในไตรมาส 4 ปี 2566 ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงหลังจาก ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยแตะที่ระดับ 1.0821 ดอลลาร์
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ของ GDP ประจำไตรมาส 4 ปี 2566 เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยระบุว่า GDP ขยายตัว 3.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.0% โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง และช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกในช่วงที่ผ่านมา
รวมถึงคลายความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ โดยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) สหรัฐฯ ประจำไตรมาส 4 ปี 2566 ปรับตัวขึ้นเพียง 2.7% ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 5.9% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนดัชนี Core PCE ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้นเพียง 3.2% ชะลอตัวลงจากระดับ 5.1% ในไตรมาส 4/2565 นอกจากนี้มีข้อมูลแรงงานที่มีการเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 25,000 ราย สู่ระดับ 214,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 200,000 ราย
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ นักลงทุนรอเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือน ธ.ค.ของสหรัฐฯ ในวันนี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
ขณะที่ Fund flow เมื่อวานนี้ (25 ม.ค.67) นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรสุทธิ1,946 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 2,042 ล้านบาท
กรอบค่าเงินบาทวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
- USD/THB 35.60- 35.90 แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.60/ ขาย 35.80
- EUR/THB 38.60-39.00แนะนำ ซื้อ38.60/ ขาย 38.90
- JPY/THB 0.2400-0.2440 แนะนำ ซื้อ0.2400/ ขาย 0.2430
- GBP/THB 45.20-45.60
- AUD/THB 23.30-23.70
นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มของค่าเงินบาทว่า ค่าเงินบาทอาจเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง แต่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทก็อาจมีลักษณะแกว่งตัวไซด์เวย์ (sideways) ในโซน 35.65-35.85 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดมีการเคลื่อนไหวผันผวนที่มากขึ้นได้
โดยล่าสุด จาก CME FedWatch Tool ผู้เล่นในตลาดยังให้โอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนมีนาคมราว 49% ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังสามารถทยอยปรับลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยดังกล่าวของเฟดได้พอสมควร หากรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด หรือ เร่งตัวสูงขึ้น สวนทางกับที่ตลาดประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง
ในทางกลับกัน หากอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ชะลอตัวลงกว่าคาด และต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดที่ 2% ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมาเพิ่มโอกาสการลดดอกเบี้ย “เร็วและลึก” ของเฟดอีกครั้ง ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลให้ เงินดอลลาร์และอัตราผฃตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (บอนด์ยีลด์) ย่อตัวลงได้ไม่ยาก
ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างวัน ก่อนทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ประเมินว่า เงินบาทยังมีความเสี่ยงที่อาจเผชิญแรงกดดันจากโฟลว์ขายหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติ และแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ มองว่า เงินบาทยังไม่สามารถกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ชัดเจน จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ ๆ เข้ามา หรือ นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อสินทรัพย์ไทยต่อเนื่อง ทำให้โซนแนวรับของเงินบาทในระยะสั้นจะยังเป็นโซน 35.50 บาทต่อดอลลาร์
เปิดคะแนนฟีฟ่า ทีมชาติไทย หลังเสมอ ซาอุดีอาระเบีย ศึกเอเชียน คัพ
เปิดโปรแกรมรอบ 16 ทีมสุดท้ายฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
"ตรุษจีน 2567" เปิด 10 แซ่จีน ที่มีคนไทยเชื้อสายจีนใช้มากที่สุด